การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ
วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบนโยบายการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รายการ พุธเช้าข่าว สพฐ. “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย การประชุมถ่ายทอดสัญญาณสดแบบออนไลน์ผ่านระบบ OBEC Chanel และเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ สพฐ. และชมนิทรรศการ การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบมีชีวิต จาก รร.ต้นแบบ 4 แห่ง โอกาสนี้ ว่าที่ร้อยตรี ดร.กฤดิ์ทรัพย์ เชื้อพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย พร้อมคณะผู้บริหาร ครู นักเรียน ให้การต้อนรับ โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอมรรัตน์ โพธิ์เพชร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา กล่าวรายงาน
ในวันนี้ ผอ.สพป.อยุธยา เขต 1, รอง ผอ.สพม.อยุธยา, ผอ. รอง ผอ. คณะครู และนักเรียน รร.อยุธยาวิทยาลัย, ประธานกรรมการสถานศึกษา รร.อยุธยาวิทยาลัย,ผู้บริหาร รร.ในสังกัด สพม.พระนครศรีอยุธยา และคณะทำงาน ONE TEAM สพฐ.(สวก. สบว. สทศ. สบน. ศนฐ.) ร่วมงาน
หลังจากมอบนโยบายฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการ การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบมีชีวิต จาก รร.ต้นแบบ 4 แห่ง ได้แก่ รร.บางประอิน “ราชานุเคราะห์ 1” รูปแบบการเรียนการสอนบนแพลทฟอร์ม “Racha1-online” และกิจกรรมมัคคุเทศก์แนะนำเกี่ยวกับพระราชวังบางปะอิน รร.อยุธยานุสรณ์ -การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ สื่อ และแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน (วังจันทน์เกษม วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ รร.อยุธยาวิทยาลัย -การจัดการเรียนรู้บูรณาการข้ามสาระ ภาษาไทย/ประวัติศาสตร์/ศิลปะ และการเรียนรู้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จากสถานที่จริง(ทุ่งมะขามหย่อง/เจดีย์ศรีสุริโยทัย) รร.บางปะหัน -คำขวัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกี่ยวกับเส้นทางการเดินทัพของพระเจ้าตาก.
📣 การถ่ายทำ VTR การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เพื่อออกอากาศในรายการพุธเช้า ข่าว สพฐ. ทาง OBEC Channel จำนวน 4 ตอน
🔸การบูรณาการการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
🔸การเรียนรู้โดยใช้ประวัติศาสตร์เป็น พิพิธภัณฑ์เป็นสื่อ
🔸ยุวมัคคุเทศก์และการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์
🔸การเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและต่อยอดสู่งานอาชีพ
ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า -สิ่งสำคัญที่พวกเราทุกคนได้ดำเนินการในวันนี้ คือ การได้เริ่มต้นดำเนินการในสิ่งที่บรรพชน ได้ทิ้งไว้ให้พวกเรา คือ ขุมทรัพย์ ทางปัญญาซึ่งทรงคุณค่าและมีเฉพาะคนไทย ซึ่งหน้าที่ของเราชาว สพฐ คือ บ่มเพาะให้นักเรียนทุกคน รักชาติ ศาสน์ กษัตรย์ เป็นคุณลักษณะอังพึงประสงค์ข้อแรก ที่ต้องตระหนัก สร้าง พาทำให้เกิดให้ได้กับนักเรียนทุกคน
-นักเรียน รร. นี้ รู้รากเหง้าของตนเองอย่างดีเยี่ยม เล่าเรื่องราวในอดีตอย่างเข้าใจเหมือนตัวเองอยู่ในยุคสมัยนั้น แสดงให้เห็นว่าการจัดกระบวนการเรียนการสอน ของ รร. มุ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจ ภูมิใจ ปรับ ประยุกต์และสร้างสรรค์ ในสิ่งที่บรรพชนได้ทิ้งไว้ให้คือ มรดกทางปัญญา ได้ปรับประยุกต์ใช้ ในปัจจุบันและต่อยอดสู่อนาคต
-สิ่งที่สังคมต้องการ คาดหวังจากเรา คือ ต้องการให้เด็กไทยรักความเป็นไทย รู้จักรากเหง้าของตนเอง และรู้ถึงความเสียสละของบรรพชน
-ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการรู้จักรากเหง้าของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะดึงดูดสิ่งดีๆที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองของเรา เป็นจุดเริ่มต้น เป็นประตูที่จะให้เรา ร่วมมือกัน สามัคคีกัน สร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อเด็กไทย
-การขับเคลื่อนในวันนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมพลัง เป็นสัญลักษณ์ที่ชี้ให้เห็นว่า เรากำลังร่วมกันทำ เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า รากเหง้าของเราคือสิ่งที่ต้องหวงแหนไว้ และแสดงให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความสง่างาม
-สิ่งที่สำคัญมิใช่แค่การแต่งตัวย้อนยุค แต่สิ่งที่เรากำลังดำเนินการต่อไปคือ การปรับการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กนักเรียนทุกคน ได้เข้าถึงประวัติศาสตร์ อย่างสร้างสรรค์ ดึง soft power ต่างๆ ปรับกระบวนการเพื่อให้เด็กของเราได้เข้าถึงประวัติศาสตร์แบบ inquiry มิใช่ท่องจำ แต่เป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ แบบคิด วิเคราะห์ ภายใต้รูปแบบ active learning จนนำไปสู่การคิด แสวงหาความรู้ ความภูมิใจ และรู้สึกโชคดี ที่เราได้เกิดมาเป็นคนไทย ที่มีมรดกตกทอดจากบรรพชน มีอารยธรรม มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ที่ชาติอื่นไม่มี
-พวกเราทุกคนคือพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ เป็นกลไกที่จะทำให้นักเรียนของเรา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนสามารถก็สามารถรู้จักรากเหง้าของตนเองได้ และภาคภูมิใจในความเป็นไทย จากการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ ที่พวกเราได้ร่วมกับ รร. เขตพื้นที่ ทุกๆภาคส่วนในประเทศไทย เริ่มไปพร้อมๆกัน
-ทุกพื้นที่ ล้วนมีอารยธรรม ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณี ของตนเอง เราต้องใข้จุดนี้ เป็นตัวเชื่อมโยง ดำเนินการ สู่การเรียนรู้ ในการสร้าง ความภาคภูมิใจ เราต้องเชื่อมไปสู่การเรียนรู้ ของโรงเรียน บ่มเพาะ ให้มีทัศนคติ ที่ถูกต้อง ต่อบ้านเมืองด้วย
♥️ สิ่งที่ชื่นชม
-นักเรียนที่นำเสนอทุกคนเก่ง รู้จริงเรื่องประวัติศาสตร์ และภาคภูมิใจที่อยู่ จ.อยุธยา
-ครูเก่ง จัดหน่วยบูรณาการได้อย่างลงตัว รวมทั้งดึงเทคโนโลยีและวัด ชุมชน วิถีชีวิต มาจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้อย่างชัดเจน
-ผู้บริหาร รร.ให้การสนับสนุน รวมทั้งเขตพื้นที่ใส่ใจในการพาคิด พาทำร่วมกัน โดยมีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนกันอย่างเป็นรูปธรรม
-รร.มีการบูรณาการการสอน โดยครูวิชาภาษาไทยสอนเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ทั้งสองวิชาไปพร้อมๆกัน
📌 สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
🔹พัฒนาครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่เป็นตัวอย่างได้
🔹ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ประกอบด้วย การใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเป็นสื่อ การเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
🔹พัฒนาโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เป็นตัวอย่างได้
💟 ขอบคุณ พันเอกวันชนะ สวัสดี (ผู้พันเบิร์ด) ที่ได้ phone in เข้ามาทักทายพูดคุย สร้างเสียงกรี๊ดและความตื่นเต้น เป็นรางวัลให้กับครูและนักเรียนที่รักและภูมิใจในความเป็นไทย ได้อย่างมากมาย
📺 คลิปย้อนหลัง
การถ่ายทอดรายการ ผ่าน OBEC Channel